สิ่งแรกก่อนตัดสินใจชื้อลู่วิ่งไฟฟ้ามาใช้งานให้มีความคุ้มค่า ต้องย้อนมาดู “ลักษณะการใช้งาน” ว่าเราชอบออกกำลังกายเพื่อจุดประสงค์ใด หรือวิ่งเพื่อเป้าหมายอะไรแบ่งลักษณะการใช้งานออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ
- ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ = ลู่วิ่งขนาดเล็ก หรือลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีพลังมอเตอร์เทียบเท่า 2 HP
- ฝึกซ้อมวิ่งเพื่อเพิ่มทักษณะ = ลู่วิ่งโค้ง หรือวิ่งลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีพลังมอเตอร์เทียบเท่า 4 HP หรือสูงขึ้นไป
ในปัจจุบันลู่วิ่งมีให้เลือกใช้งานหลากหลายราคา ตั้งแต่ราคาหลักพัน ไปจนถึงหลักแสน ซึ่งราคาไม่ใช่ตัวตัดสินว่าลู่วิ่งรุ่นนั้นๆจะเหมาะกับลักษณะการใช้งาน อยากให้มองว่าเป็นเกรณ์บอกถึงคุณภาพการใช้งานมากกว่า
แนะนำการเลือกใช้งานลู่วิ่งไฟฟ้า
- ฝึกซ้อมสำหรับการแข่งขัน : Real Run PRO
- เพิ่มทักษณะการวิ่ง : Real Run
- ฝึกซ้อมวิ่งเทรล & เดินขึ้นเขา : Fit Run
- ฟิตร่างกาย ดูแลสุขภาพ : Flex Pro
- ลดน้ำหนัก : Flex Slim
มอเตอร์ถือเป็นหัวใจหลักของลู่วิ่งไฟฟ้า แหล่งขับเคลื่อนการทำงานของสายพาน ส่งกำลังเพื่อรองรับระดับความเร็ว ซึ่งมีหน่วยเป็น HP หรือแรงม้า (Horsepower) นั้นเอง
- มอเตอร์ 2 รูปแบบ
- AC มอเตอร์ระดับอุตสาหกรรม รองรับใช้งานแบบต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ ลักษณะการใช้คงที่ ในรูปแบบยิม หรือ Commercial
- DC มอเตอร์พื้นฐานสำหรับลู่วิ่งไฟฟ้าใช้งานในรูปแบบ Home-use ได้เปรียบในเรื่องความแม่นยำ และขนาดที่เล็กกว่า AC
- ความแรงมอเตอร์ ระดับของแรงม้าจะเข้ามีส่วนสำคัญในช่วงความเร็วสูงๆตั้งแต่ 8 กม./ชม.ขึ้นไป โดยมอเตอร์จะส่งกำลังได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งในความความเร็ว 1-7 มอเตอร์จะผ่อนแรง และยังไม่ได้ส่งกำลังเต็มที่เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน
- 1-2 แรงม้า สำหรับเดินเพื่อสุขภาพ หรือวิ่งจ้อกกิ้งเบาๆเพื่อลดน้ำหนัก
- 3-6 แรงม้า สำหรับวิ่งออกกำลังกาย หรือลดน้ำหนักอย่างจริงจังในบ้าน หรือคอนโด
- 7 แรงม้าขึ้นไป สำหรับใช้งานยิมฟิตเนส หรือผู้ที่ต้องการฝึกซ้อมวิ่งในรูปแบบนักกีฬามืออาชีพ
- ความเร็ว เมื่อรู้ถึงเรื่องมอเตอร์และแรงม้าแล้ว ปัจจัยต่อมา คือ “ความเร็ว/ระดับความชัน” ของลู่วิ่งไฟฟ้า โดยความแรงมอเตอร์และระดับความเร็วเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กัน ยิ่งมอเตอร์มีแรงม้าสูงๆ ก็สามารถเลือกปรับระดับความเร็วได้สูงขึ้น ซึ่งบางคนก็ไม่ใช้ความเร็วสูงๆในระดับ 15 ขึ้นไป เนื่องด้วยปลอดภัยและทักษณะในการวิ่ง ดังนั้นควรเลือกลู่วิ่งที่มีระดับความแรงที่ตอบโจทย์การใช้งาน มากกว่าที่จะเลือกลู่วิ่งไฟฟ้าที่มีระดับความเร็วสูงๆไว้ก่อน
- ความเร็ว 0-6 กม./ชม. เหมาะกับการเดินเร็วๆเพื่อสุขภาพ และลดน้ำหนัก
- ความเร็ว 7-10 กม./ชม. เหมาะกับกาวิ่งพื้นฐาน ไปจนถึงสร้างความแข็งแรง
- ความเร็ว 11 กม./ชม. ขึ้นไป เหมาะกับการวิ่งฝึกซ้อม เพิ่มทักษณะในการแข่งขัน